สังคมศึกษา

ประวัติอำเภอแม่สอด

อำเภอแม่สอดเป็นอำเภออยู่ทางซีกตะวันตก (ของแม่น้ำปิง) ของจังหวัดตาก ประวัติความเป็นมามีหลักฐานว่าเมื่อประมาณ 120 ปีที่ล่วงมา (ประมาณปี พ.ศ. 2404 – 2405) บริเวณที่ตั้งอำเภอหรือชุมชนใหญ่ของอำเภอในปัจจุบันนี้ ได้มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจอยู่ เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านพะหน่อแก” ต่อมามีคนไทยจากถิ่นอื่นหลายท้องที่ทางภาคเหนือ พากันอพยพลงมาทำมาหากิจในบริเวณหมู่บ้านนี้เป็นจำนวนมาก และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ชาวกะเหรี่ยงเจ้าของถิ่นฐานเดิมซึ่งไม่ชอบอยู่ปะปนกับชนเผ่าอื่นต้องพากันอพยพไปอยู่ที่อื่น หมู่บ้านแห่งนี้ได้เจริญขึ้นตามลำดับ จนทางราชการได้ย้ายด่านเก็บภาษีอากรจากบ้านแม่ละเมา มาอยู่ที่หมู่บ้านพะหน่อแกแห่งนี้ จนถึงปี พ.ศ. 2441 ทางราชการจึงได้ยกฐานะหมู่บ้านขึ้นเป็นอำเภอ เรียกชื่อว่า อำเภอแม่สอด” ให้อยู่ในเขตปกครองของมณฑลนครสวรรค์ ต่อมาเมื่อมีการมีการ ปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค อำเภอแม่สอดจึงได้เปลี่ยนมาขึ้นกับจังหวัดตาก
สำหรับความเป็นมาของชื่ออำเภอนั้น สันนิษฐานไว้เป็น นัย ประการแรก กล่าวกันว่า อำเภอแม่สอดเป็นเมืองเดียวกันกับ เมืองฉอด” ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในประวัติศาสตร์ ที่ตั้งประชิดชายแดนราชอาณาจักรสุโขทัย เมืองฉอดมีเจ้าเมืองชื่อพ่อขุนสามชนคำว่า เมืองฉอด เรียกกันนานเข้าอาจเพี้ยนกลายมาเป็นแม่สอด” ก็เป็นได้ อีกนัยหนึ่งอำเภอแม่สอดอาจได้ชื่อมาจากชื่อของลำห้วยสายสำคัญที่ไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คือ ลำห้วยแม่สอดส่วนอีกนัยหนึ่งแม่สอดอาจมาจากคำว่า “เหม่ช็อค” ในภาษามอญซึ่งแปลว่าพม่าตาย
อำเภอแม่สอด ที่ว่าการอำเภอปัจจุบันตั้งอยู่ในตำบลแม่สอด ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาล ตำบลแม่สอด ห่างจากแนวชายแดน กิโลเมตร เป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ด้วยเป็นอำเภอชายแดน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าตลอดแนวชายแดนด้านตะวันตกซึ่งมีปัญหาทางด้านการปกครอง เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยภายในประเทศ และปัญหาเกี่ยวกับระบบการปกครองภายใน ทำให้บุคคลสัญชาติพม่าพลัดถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยทำมาหากินในประเทศไทย เขตอำเภอแม่สอดเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาต่อประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและการควบคุม จนแม้ในปัจจุบันนี้ ทั้งอำเภอแม่สอดแต่เดิมนั้น เป็นเขตแทรกซึมและเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ จนต้องมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการและประสานงานรักษาความมั่นคงภายในอำเภอแม่สอด (ศอป. รมน. อ.แม่สอด) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณกำลังคนและอาวุธเป็นจำนวนไม่น้อย และในปัจจุบันการเคลื่อนไหวของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่อำเภอ ได้หยุดการเคลื่อนไหวโดยเด็ดขาดแล้ว ไม่ว่าทางด้านการเมืองหรือการทหารตั้งแต่ปลายปี 2542 เนื่องจากการดำเนินการปราบปรามของเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐบาลได้ผลตามเป้าหมาย
ที่ว่าการอำเภอแม่สอดในอดีต
maesod_office

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 ตำบล 84 หมู่บ้าน เทศบาล อบต.
มีประชากรทั้งสิ้น 107,018 คน เป็นชาย 53,999 คน หญิง 53,019 คน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 1,986 ตร.กม.
บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอดีต
moei_river
แผนที่อำเภอแม่สอด
maesod
1.ต.แม่กุ 2.ต.แม่กาษา 3.ต.ท่าสายลวด 4.ต.มหาวัน 5.ต.แม่ปะ
6.ต.แม่ตาว 7.ต.พระธาตุผาแดง 8.ต.ด่านแม่ละเมา 9.ต.พระวอ 10.ต.แม่สอด
            ประเพณีถวายข้าวมธุปายาสมีมาแต่ครั้งปฐมโพธิ์กาลคือ ตอนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้อนุตรสัมมา สัมโพธิญาณซึ่งเป็นวันเดือนเพ็ญวิสาขะ หรือเพ็ญเดือน 8 เหนือ เดือน 6 ใต้ พระองค์ได้รับข้าวที่หุง ด้วยน้ำผึ้งน้ำอ้อยจากนางสุชาดาภรรยาของคฤหบดีเมืองมคธนำมาถวายเพื่อเป็นการบูชาเทพยาดา ณ ต้นโพธิ์พฤกษ์ตามประเพณี ความเป็นมาดังนี้

            ภรรยาของคฤหบดีในเมืองราชคฤห์ ปรารถนาอยากจะได้บุตรชายไว้สืบสกุลสักคน เพราะแต่งงานมาหลายปีแล้วยังไม่มีบุตร  วันหนึ่งนาและบริวารพากันไปอาบน้ำในแม่น้ำเนรัญชราเดินผ่านมาพบต้นศรีมหาโพธิ์พฤกษ์มีต้นไม้ใหญ่สล้างกิ่งก้านสาขากว้างร่มใบหนา ใต้ร่มไม้มีทรายขาวสะอาด ประดุจเงินน่านั่งนอนภายใต้ต้นไม้นั้นยิ่งนัก นางจึงมีความคิดว่าต้นไม้นี้น่าจะมีเทพารักษ์สงสถิตอยู่เป็นแน่ เมื่อคิดดังนั้นนางจึงเข้าไปกราบที่โคนต้นไม้พูดออกมาว่า ข้าแด่เทพเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์มีมหิทธิฤทธิ์ ผู้สิงสถิตอยู่ ณ ต้นไม้นี้ ดิฉันขอความกรุณาจากท่านช่วยดลบันดาลให้มีบุตรสักคนเถิด เพื่อจะให้เขาได้สืบสกุลต่อไป ข้าแต่เทวะหากท่านให้ดินฉันสมปรารถนาแล้ว ดิฉันจะนำเอาข้าวมธุปายาสมาแก้บนสังเวยท่านเป็นสัจกิริยา”
             เมื่อนางอธิษฐานเสร็จแล้ว กลับไปอยู่กับสามีไม่นานเท่าใดนางก็ตั้งครรภ์ ยังความปลาบปลื้มแก่คฤหบดีเป็นอันมาก เมื่อครบกำหนดนางก็คลอดลูกเป็นผู้ชายมีลักษณะงดงามสมส่วนตามลักษณะของผู้มีบุญยังความโสมนัสแก่พ่อแม่พี่น้องในตระกูล   นางสุชาดารำลึกถึงคำอธิษฐานที่นางได้ขอไว้กับเทพยาดา เมื่อคลอดลูกโดยสวัสดิ์ภาพและมีความสมบูรณ์อย่างนี้ นับว่าพระคุณท่านมีมากจึงทำการหุงข้าวมธุปายาส ซึ่งประกอบด้วย ข้าว ถั่ว งา น้ำตาล น้ำผึ้ง มะพร้าว เป็นต้น ทำอย่างประณีตแล้วใส่ถาดทองประดับด้วยดอกไม้อย่างสวยงามเดินทางออกจากบ้านพร้อมด้วยทาสีมุ่งสู่ต้นโพธิ์พฤกษ์ เพื่อบูชาเทพยาดาผู้มเหสักข์ต่อไป
             พระพุทธเจ้ามีพระดำริว่าจะบำเพ็ญเพื่อการตรัสรู ณ ต้นโพธิ์พฤกษ์และประทับนั่งโคนต้นไม้นั้นหันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก นางสุชาดาและนางทาสีมาถึงได้พบพระพุทธเจ้าครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นรุกขเทพจำแลงเพศเพราะดูพุทธลักษณะที่เต็มไปด้วยสิริโฉมอันงามสง่าแห่งมหาบุรุษเจ้าสามสิบสองประการ เกิดความเลื่อมใสจึงน้อมถาดข้าวมุปายาสเข้าไปถวายแก้สัจกิริยาที่ได้บนบานไว้พระพุทธเจ้าจึงตรัสขอบคุณต่อนาง และบอกแก่นางว่าพระองค์ท่านมิได้เป็นเทพยาดา แต่เป็นมนุษย์คือเป็นกษัตริย์แห่งเมืองกบิลพัสด์ออกผนวช เพื่อแสวงหาสัจธรรม นางสุชาดาทราบเรื่องแล้ว ก็กราบถวายบงคมลากลับบ้านเรือนของตน
             หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงนำเอาข้าวจากถาดมาทรงทำเป็นก้อน ๆ นับจำนวนได้ 49 ก้อน ให้เป็นเครื่องรำลึกถึงวันที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เสวยข้าวมธุปายาส 49 ก้อนนั้นหมดแล้ว ทรงนำถาดไปทรงอธิษฐานในแม่น้ำเนรัญชรา จากนั้นพระองค์ก็เสด็จมาทรงบำเพ็ญเพียงอยู่ ณ โพธิ์พฤกษ์นั้นต่อจนสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ์ญาณ
             ตำนานเดียวกับการถวายข้าวมธุปายาส มีมาตามลำดับตลอดพุทธสมัย นอกจากนั้นก็มีการถวายข้าวยาคูของนายอนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นต้น ตราบเท่าถึงทุกวันนี้ จนกลายเป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้ทำหวังผล คือ ความสุขสวัสดีและบุญกุศลแก่ตน

 สมภารเจ้าอาวาสหรือปู่อาจารย์ เป็นผู้แทนศรัทธาประชาชนกล่าวคำถวาย ศรัทธาประชาชนที่มาร่วมถวายประณมมือตั้งปณิธานตามปรารถนา ปู่อาจารย์กล่าวเป็นคำร่ายที่คนโบราณได้รจนาไว้ดังต่อไปนี้
      โย สันนิสินโน วรโพธิมูเล มารัง สะเสนัง มหันติ๋ง วิชะโย สัมโพธิมาคัจฉิวะ อนันตะญาโน โย โลกุตตะโม ตัง ปะนะมามิ พุทธัง ตัง ปะนะมามิ ธัมมัง ตัง ปะนะมามิ สังฆัง ตัง ปะนะมามิ คุณสาครั้นตัง นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง นะมามิ สังฆัง มินิราชะสาวะกัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
      สุณันตุ โภนโต เทวทัสสะใน อนุโมทะมานายะมิมัง เอกุนปัญญาสะวจัตตาฬิสะ ปิณฑานิยาวะ เทวะปริสายะ วิโนทยา มะยะ กะตานีติ
           สาธุ โอกาสะ                              แต่สะหรี่สัพพัญญู
           พระพุทธเจ้า                              ตนสร้างโพธิสมภาร
           มานานว่าได้สี่สงชัย์                      ปลายแสนมหากัปป์
           จึ่งจักได้ตรัส                              ผญาสัพพัญญู
           นั่งเหนือแท่นแก้ว                        แทบเค้าไม้มหาโพธิรุกขา
           มีหมู่อะระหันตาสาวะ                    นั่งแวดล้อมเป็นบริวาร
           กะเจ้าตั้งแปด                             ล้ำเลิศกว่านระและเทวา
           ดูรุ่งเรืองงามเป็นมหา                    ด้วยข้าวน้ำโภชนาหาร
           มังคละอันประเสริฐ                       ก็จึ่งจักได้พ้นจากทุกข์แล้วได้เถิง
           บุคละผู้ใดมีศรัทธา                       สุข
           สักการะบูชา                              มีเนรพานเจ้าเป็นยอด
           แลข้าวตอกดอกไม้
           ทั้งหมด                                    สมณศรัทธาและมูลศรัทธา
           อันมีในชั้นฟ้าและเมือง                  ชุตนชุองค์ชุผู้ชุคน
           คน                                         ยังข้าว 49 ก้อน
           เที่ยงแท้ดีหลี                              เอามาฐปนาตั้งไว้                       
           บัดนี้หมายมี                              ส่องหน้าแห่งองค์
           ผู้ข้าทังหลาย                              เพื่อสวะซวาง
           ก็ได้ตกแต่งพร้อมน้อม                   แก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
           นำมา                                      ปฏิคคาหกะรับเอา
           และปานิยังน้ำกิน                         ทังหลายมวลถ้วนฝูงนี้แท้ดีหลี
           ในสมุขีกลางคลอง                        ตามพระบาลีว่า
           พระสัมมาสัมพุทธเจ้า                     อิมานิ ปถมัง
           วางเวนเคนหื้อเป็นทาน                  อะนิมิสสะกัง
           จุ่งจักอว่ายหน้า                           จตุตถัง รัตนฆะรัง
           พยัญชนะของไขว่                        ฉัฎฐมุจจลินทัญจะ
           ด้วยผู้ขาจักวางเวน                       วโรพุทธโธ วสิ
           สาธุโอกาสะมะยัมภันเต                  สัพพะหิตัง
           โพธิบังงังกัง ทุติยัง                       บุปผาลาชา
           ตะติยัง จังกมะเสฎฐัง
           ปัญจะมัง อัชชะปาลัญจะ
           สัตตะมัง ราชายะตะนัง                  สรีระธาตุ
           เอกัสมิง ฐาเน                            สมันตา คุตตะ
           เอเตสัตตเหยัตตกัง                      มัณฑะเร ติรัตตะนัส
           เอกูนปัญญาสะ นวจัตตาฬิสะ           สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ
           ติรัตนพุทธะ จุฬะมณ๊ สิงกุตตระ
           ติรัตนพุทธ ธัมมะ สังฆะ
           มหาโพธิ จะฬะมณี สิงกุตตะระ
           ศิริวิหาระ สัจจะคันธะ
           สะยัง ภาชนัง ฐเปตวา
           ทุติยัมปิ....ฯลฯ...
        ตติยัมปิ สาธุโอกาส มะยังภันเต ฯลฯ สักกัจจัง เทมิ ปูเชมะอิทิง โน เอกูนะปัญญาสะ นวจัตตาฬิสะ สัมมาสัมพุทธัสสะ อยัง มหาปูชโก อนุกัมปัง อุปทายะ ทีฆรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานนายะปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง เสร็จแล้วนำเอาข้าวมธุปายาสเข้าประเคนพระประธานเป็นเสร็จพิธี
        ข้าว มธุปายาส นี้เรียกว่าข้าวทิพย์ ประชาชนเชื่อกันว่าหากใครได้รับประทานจะมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี จึงนิยมแบ่งกันรับประทาน หากเด็ก ๆ ได้รับประทาน ก็จะทำให้ผิวพรรณน่ารัก มีสุขภาพี สมองปลอดโปร่ง นิยมทำเป็นประเพณีตราบเท่าทุกวันนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น